วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการทำstop motion

สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย 



1. เคลย์แอนิเมชั่น (Clay animation หรือ เคลย์เมชั่น  claymation) คือ แอนิเมชั่นที่ใช้หุ่น หรือรูปทรง ซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้ แล้วเคลื่อนไหวไปทีละท่าทางตามต้องการ เมื่อนำภาพทั้งหมดมาเรียงเป็นเฟรมต่อกัน ก็จะเสมือนว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง


2. คัตเอาต์แแอนิเมชั่น (Cutout animation) คือ การนำวัสดุสองมิติ เช่น กระดาษ หรือผ้า มาตัดเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แล้วนำเฟรมมาต่อกัน เล่าเป็นเรื่องราวตามหัวข้อที่กำหนด แต่ปัจจุบันอาจวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ เช่น move, rotate หรือ resize


3. หุ่นกระบอก หรือโมเดลแอนิเมชั่น (Puppet or Model animation) คือ การทำตัวละครเป็นโมเดลขึ้นมาขยับร่วมกับวัตถุอื่น อาจมีการซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริง และภาพพื้นเสมือนจริงก็ได้


4. พิกซิลเลชั่น (Pixilation) คือ การใช้คนจริงมาขยับท่าทางเพื่อแสดงการเคลื่อนไหว แล้วถ่ายเก็บไว้ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาฉายต่อเนื่องกันให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของคนอย่างไหลลื่น


5. แอนิเมชั่นกับวัตถุ (Object animation) คือ การนำวัตถุที่ไม่สามารถดัดแปลงรูปร่างหน้าตาแบบดินเหนียว มาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างภาพ เช่น ของเล่น หุ่น ตุ๊กตา หรือตัวต่อเลโก้


6. แอนิเมชั่นเงาของแสง (Silhouette animation) คือ การแสดงให้เห็นวัตถุผ่านเงา อาจสร้างวัตถุจากกระดาษ แล้วนำมาบังแสงเพื่อให้ได้เงาที่ต้องการ อาจใช้วิธีอื่นก็ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ปรับจากการแสดงด้วยเงาคล้ายหนังตะลุง หรือหนังเงา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น