วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ANIMATION

ประเภทของแอนิเมชั่น



สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
 
        1. การสร้างงานแอนิเมชั่นแบบดั่งเดิม (Traditional Animation หรือ Drawn Animation) 

เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวภาพยนตร์มากที่สุด เป็นการสร้างชิ้นงานแอนิเมชั่นด้วยภาพวาดซึ่งจะ

มีการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน เพื่อสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว แต่ละรูปวาดจะแตกต่างกันเล็กน้อย หลายพันภาพ 

 และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องบันทึกภาพ หรือกล้องวิดีโอ การทำแอนิเมชั่นต้อง อาศัยความสามารถทางศิลปะในการวาดภาพ

อย่างมาก จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการผลิตนานและต้นทุนในการผลิตจึงสูงตามไปด้วย


         2. การสร้างแอนิเมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น (Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation) 

เป็นการสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาหรือใช้สิ่งของแล้วค่อยๆ ขยับ พร้อมกับถ่ายภาพนั้นที่ละภาพ ที่พบมากได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว

แบบหุ่นเชิด ภาพเคลื่อนไหวดินน้ำมัน ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้มักจะเป็นดินน้ำมัน ปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยมีเส้นลวดเสมือนเป็น

โครงกระดูกอยู่ภายในหุ่นที่ปั้นและทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง แอนิเมชั่นแบบนี้ต้องอาศัยเวลา ความอดทนและ

ความสามารถมากต้องใช้ทักษะทางศิลปะการปั้น และการถ่ายภาพ ทั้งนี้เพราะหุ่นจ าลอง หรือสิ่งของประกอบฉากนั้น 

 หลายๆสิ่งมีการขยับหรือเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ในหนึ่งภาพ ดังนั้นหากต้องการแสดงความสมจริงจำเป็นต้องอาศัย

ความละเอียดในการกำหนดการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวแต่ละภาพ
 
        3. การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Animation) 

เป็นกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบันจึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนเป็นอย่างมาก

 โปรแกรมที่นิยมใช้ในการผลิตงานแอนิเมชั่นเช่น โปรแกรม Maya, Abode Flash, Lightwave,

 modo, Anime Studio และ 3D Studio Max เป็นต้น
 

 ประเภทของภาพเคลื่อนไหว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
       1. ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ (2D Animation ) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง  

       2. ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (3D Animation) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก  


ที่มา https://sites.google.com

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น



       แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น

      สภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมายและเป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคน ดังนั้นประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน เพื่อที่จะช่วยลดผลกระทบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา นั่นคือต้องมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและร่วมือกันในการลดของเสียต่างๆ ดังนี้

-การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง(น้ำมัน) เนื่องจากมีการใช้เกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ รอบครอบ ไม่คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหลสูญเปล่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หากมีการใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีดด้วย เช่น ตรวขเช็คลมยางเป็นประจำ ไม่ควรติดเครื่อองไว้เมื่อจอดรถ  ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง ตรวจเครื่องยนต์ตามกำหนด ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เป็นต้น

-ลดการใช้น้ำ น้ำเป้นทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ดังนั้นหากมีการใช้น้ำอย่างไม่ประหยัดน้ำสะอาดอาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ เช่น ใช้น้ำอย่างประหยัด อาบน้ำใช้ฝักบัว ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาการล้างมือ เป็นต้น

-ลดการใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการต่างๆการประหยัดไฟฟ้าที่ทุกคนสามารถทำได้ เช่น ปิดสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งานเป็นต้น
-การลดการใช้พลังงานอื่นๆ เช่น อย่าใช้กระดาษหน้าเดียววทิ้ง หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ รู้จักแยกแยะประเภทขยะ  งด เลิกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย  กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน เป็นต้น

-การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
 เป็นพลังงานที่ได้มาจากกระแสพลังงานที่ต่อเนื่องและเกิดซ้ำๆในสิ่งแวดล้อม แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานแสงอาทิตย์  ลม  น้ำ  ชีวมวล  ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น

ที่มา https://manatsayaporn.wordpress.com

อุณหภูมิเดือนเมษายน 2559 ทำลายสถิติของประเทศไทย

            อุณหภูมิเดือนเมษายน 2559 ทำลายสถิติของประเทศไทย เดือนเมษายน 2559 ประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัดทั่วไปเกือบตลอดเดือน โดยเฉพาะ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องในช่วงกลางเดือนและในช่วงวันที่ 25-28 เมษายน ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดที่ตรวจวัดได้สูงกว่าสถิติเดิมหลายพื้นที่ เฉพาะอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทยใน เดือนเมษายนปีนี้ ที่วัดได้ 44.6 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 28 นั้นสูงกว่าสถิติเดิมของประเทศไทยที่เคยวัดได้ 44.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503 สาเหตุส าคัญเนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ า เนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ต่อเนื่อง กับมีลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 26 และ 27 เมษายน นอกจากนั้นปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งปัจจุบันแม้จะมีก าลัง อ่อนลงกว่าช่วงปลายปี 2558 แต่ยังส่งผลกระทบเสริม ให้อุณหภูมิสูงขึ้นในหลายภูมิภาคของโลกรวมถึงประเทศ ไทยด้วย



และเมื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ พบว่า อุณหภูมิสูงที่สุดในเดือนเมษายน 2559 ในภาคเหนือซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทยท าลายสถิติเดิมในรอบ 66 ปี (ตั้งแต่มีการบันทึก ข้อมูลในปี พ.ศ.2494) ส่วนในภาคกลางสูงกว่าสถิติเดิมในรอบ 2 ทศวรรษ ภาคตะวันออกสูงเท่ากับสถิติ เดิมในรอบ 1 ทศวรรษ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกสูงกว่าสถิติเดิมในรอบ 1 ทศวรรษ

ในเดือนเมษายน 2559 นอกจากอุณหภูมิสูงที่สุดจะท าลายสถิติเดิมของประเทศไทยแล้ว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยของปีนี้ซึ่งเท่ากับ 38.3 องศาเซลเซียส (สูงกว่าค่าปกติ 2.6 องศาเซลเซียส) ยังมีค่าสูง ที่สุดเป็นอันดับที่ 1 นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี พ.ศ. 2494 ด้วย ส่วนอันดับที่ 2 มีอุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 37.5 องศาเซลเซียส เมื่อปี 2526 และ 2535 ส่วนอันดับที่ 3 มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.3 องศา เซลเซียส เมื่อปี 2553 และอันดับ 4 มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.0 องศาเซลเซียส เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่ เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์


ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 
4 พฤษภาคม 2559

ที่มา http://www.tmd.go.th/

สาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

สาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

เกิดจากก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เช่น
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้ นับว่าเป็นตัวการสำคัญที่สุด ในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ มันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหน่วยงาน IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา รายงานว่ามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่เมือง หรือการเกษตรมีประมาณ 1.6 Gtc (1.6 5 109 ตันคาร์บอน) ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ และแหล่งอื่นที่เป็นผลมาจากฝีมือ มนุษย์กำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลการศึกษาของ IPCC ยังระบุชัดว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม ในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าก๊าซชนิดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิของผิวโลกและชั้นบรรยากาศจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อไปอีก ล่าสุดนี้หน่วยงาน IPCC ได้รายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นโดยฝีมือมนุษย์นี้ ทำให้พลังงานรังสีความร้อนสะสมบนผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์ ต่อตารางเมตร ในปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ก๊าซมีเทน
     แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีอยู่มากมายทั้งในธรรมชาติ และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น จากแหล่งนาข้าว จากการย่อย
สลายซากสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึง 20% ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาของ IPCC ว่าพื้นที่การเกษตรประเภทนาข้าวในประเทศแถบเอเชีย และออสเตรเลีย มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่มาก และมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ขึ้นกับชนิดและคุณภาพของดินในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ จะมีมากกว่ากรณีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก๊าซมีเทนมีอายุสะสมเฉลี่ยประมาณ 11 ปี นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นสาเหตุให้ผลกระทบโดยตรง อันเนื่องจากภาวะเรือนกระจกโดยก๊าซมีเทนมีน้อยกว่าผลกระทบ อันเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีผลกระทบมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีรายงานว่าพลังงานเฉลี่ยรวม ที่เกิดจากผลกระทบโดยตรงของก๊าซมีเทนประมาณ 0.47 วัตต์ต่อตารางเมตร

  • ก๊าซไนตรัสออกไซด์

แหล่งกำเนิดก๊าซไนตรัสออกไซด์คืออุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แม้ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติจะมีอยู่มากในภาวะปกติก็ตาม แต่อัตราการเพิ่มปริมาณดังกล่าวก็จัดอยู่ในภาวะที่สมดุลในธรรมชาติ ส่วนก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์ต่อตารางเมตร นับตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นถึงปัจจุบัน
  • ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนมีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลง 40% เมื่อเทียบกับสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ตามมาตรการควบคุมโดยสนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดยฝีมือมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสม บนพื้นผิวโลกประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบทางอ้อมของก๊าซชนิดนี้ ทำให้เกิดอันตรายต่อบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกมากมาย กล่าวคือก๊าซประเภทนี้สามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนอันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกส่องผ่านลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกในสัดส่วนที่มากเกินภาวะสมดุล นับเป็นการทำให้ผิวโลกและบรรยากาศร้อนขึ้นโดยทางอ้อม
ที่มา https://tansiwat.wordpress.com

การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาเซียน

การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาเซียน


ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศปลดปล่อย และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าไรของโลก ดังแสดงในตารางที่ 1 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ปลดปล่อยมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีการผลิตและใช้ถ่านหินเป็นจำนวนมาก ประเทศไทย ถูกปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่สอง โดยเฉพาะในเรื่องภาคพลังงานที่ประเทศไทยใช้สูงสุด


ตารางที่ 1 ประเทศในอาเซียน และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ที่มา www.wri.gov


ประเทศไทย
        ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศไทย รวมทั้งส่วนที่เกิดจากแหล่งปล่อย (emission from source) และส่วนที่ดูดกลับ (removal by sink) เท่ากับ 229.08 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคิดเป็น 159.39 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 69.6 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ รองลงมาคือภาคการเกษตร 51.8 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 22.6 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปล่อยเท่ากับ 16.39 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ ตามลำดับ ภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดคือภาคของเสียคิดเป็นปริมาณการปล่อยเท่ากับ 9.32 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือคิดเป็นร้อยละ 4.10 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ สำหรับการปล่อยในภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีน้อยกว่าปริมาณดูดกลับ ทำให้ค่ารวมของภาคนี้ -7.90 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ – 3.4 ของปริมาณการปล่อยทั้งหมดของประเทศ


ตารางที่ 1 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหน่วยของคาร์บอน ไดออกไซด์เทียบเท่า (ล้านตัน) และ ร้อยละของการปล่อย จากแต่ละภาคในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)


ที่มา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2553)


ประเทศบรูไน
           ประเทศบรูไน จัดอยู่ในกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (non annex I) และยังไม่เคยทำรายงานการสำรวจปริมาณก๊าซเรือนกระจกส่งให้ UNFCCC เป็นที่รู้จักกันว่า ประเทศบรูไนเป็นประเทศสีเขียว มีพื้นที่ป่าดิบชื้นจำนวนมาก ประเทศบรูไนร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน จึงผลิตและส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศประชากรบรูไนปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเท่ากับ 14.97 CO2e T/person/year มากกว่าสิงคโปร์ที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เท่ากับ 13 ตัน/ปี/คน และ มาเลเซียเท่ากับ 7 ตัน/ปี/คน


ประเทศกัมพูชา
          ในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศกัมพูชาแบ่งตามภาคส่วน ดังนี้ ภาคการเกษตรเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคิดเป็น 68,566 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 38 ภาคพลังงานมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 65,971 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 37 ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 26,015 GgCO2eq คิดเป็น 14.5 ภาคของเสียมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10,277 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 6 และภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 9,180 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 5 ของปริมาณการปล่อยทั้งประเทศ (Ministry of Environment, 2002)


ประเทศอินโดนีเซีย
         ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของก๊าซหลัก 3 ชนิด ได้แก่ CO2 CH4 และ N20 โดยไม่รวมภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้และ peat fires มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 556,499GgCO2eq ซึ่งเมื่อรวมกับภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,205,753GgCO2eq โดยปริมาณการปล่อยตามภาคส่วน พบว่าภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณการปล่อยทั้งประเทศ รองลงมาคือภาคพลังงาน มีปริมาณการปล่อยคิดเป็นร้อยละ 20 ภาคของเสียมีปริมาณการปล่อยคิดเป็นร้อยละ 11 ภาคการเกษตรมีปริมาณการปล่อยคิดเป็นร้อยละ 5 และภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 3 (Ministry of Environment, Republic of Indonesia, 2010)


ประเทศลาว
        ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 50,742.91 GgCO2eq ซึ่งภาคที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปล่อย 41,916.52 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 83 ของปริมาณการปล่อยทั้งประเทศ ตามมาด้วยภาคการเกษตร 7,606.34 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 15 ภาคพลังงานมีปริมาณการปล่อย 1,039.76 GgCO2eq คิดเป็นร้อยละ 2 ในขณะที่ภาคของเสียและภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปล่อยน้อยมาก 131.88 และ 48.41 GgCO2eq ตามลำดับ (Ministry’s office Science Technology and Environment Agency, 2000)


ประเทศมาเลเซีย
        ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ. 2000) เท่ากับ 222,987.6 GgCO2eq และปริมาณการดูดกลับเท่ากับ 249,784 GgCO2eq ฉะนั้นปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับ -26,796.4 GgCO2eq โดยแบ่งปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามภาคส่วน ดังนี้ ภาคที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ได้แก่ ภาคพลังงานมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 147,001 GgCO2eq รองลงมาคือ ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้ 29,589.8GgCO2eq ภาคของเสีย 26,357.1 GgCO2eq ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม 14,133.7 GgCO2eq และภาคที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดคือ ภาคการเกษตรซึ่งมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 5,906GgCO2eq(Ministry of Natural Resources and Environment Malaysia, 2011)


ประเทศพม่า
          การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ. 2000) ของประเทศพม่าสุทธิซึ่งรวมปริมาณการดูดกลับทั้งหมดแล้วเท่ากับ -67,820.5 GgCO2eq โดยปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 41,563.75 Gg ซึ่งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถแบ่งตามภาคส่วนดังนี้ ภาคการเกษตรมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 13,195.41GgCO2eq ภาคพลังงานมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 7,863.47 GgCO2eq ภาคของเสียมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 2,825.97 GgCO2eq ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 463.3GgCO2eq และภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 40,404.86GgCO2eq มีปริมาณการดูดกลับเท่ากับ 142,221.19GgCO2eq ฉะนั้นมีปริมาณการปลดปล่อยสุทธิน้อยที่สุดคือเท่ากับ -101,816.38GgCO2eq (Ministry of Environmental Conservation and Forest, 2012)


ประเทศฟิลิปปินส์
         ในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ประเทศฟิลิปปินส์มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100,864 ktons of CO2eq ซึ่งมีปริมาณการดูดกลับ 126 ktons of CO2eq ฉะนั้นปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งประเทศสุทธิเท่ากับ 100,738 ktons of CO2eq โดยภาคพลังงานมีปริมาณการปลดปล่อยมากที่สุดเท่ากับ 50,038 ktons of CO2eq คิดเป็นร้อยละ 49 รองลงมาคือภาคการเกษตร 33,130 ktons of CO2eq คิดเป็นร้อยละ 33 ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม 10,603 ktons of CO2eq คิดเป็นร้อยละ 11 ภาคของเสีย 7,094 ktons of CO2eq คิดเป็นร้อยละ 7 และภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปลดปล่อยน้อยที่สุดเท่ากับ -126 ktons of CO2eq (Inter-Agency Committee on Climate Change, 1999)


ประเทศสิงคโปร์
          ประเทศสิงคโปร์มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ. 2000) ทั้งหมด 38,789.97 GgCO2eq ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีการปลดปล่อยจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคพลังงานมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 37,945.07 GgCO2eq รองลงมาคือภาคกระบวนการอุตสาหกรรมเท่ากับ 587.57 GgCO2eq และภาคของเสียมีปริมาณการปลดปล่อยน้อยที่สุดเท่ากับ 257.33 GgCO2eq (National Environment Agency, 2010)


ประเทศเวียดนาม
          ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ประเทศเวียดนามมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิทั้งหมด 150,899.73 พันตัน CO2eq โดยสามารถแบ่งตามภาคส่วน ดังนี้ ภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 65,090.65 พันตัน CO2eq คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมาคือภาคพลังงานมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 52,773.46 พันตัน CO2eq35 ภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้มีปริมาณการปลดปล่อย 15,104.72 พันตัน CO2eq คิดเป็นร้อยละ10 ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมมีปริมาณการปลดปล่อยเท่ากับ 10,005.72 พันตัน CO2eq คิดเป็นร้อยละ 6.6 และภาคของเสียมีปริมาณการปลดปล่อยน้อยที่สุดเท่ากับ 7,925.18 พันตัน CO2eq คิดเป็นร้อยละ 5.3 (Ministry of Natural Resource and Environment Vietnam, 2010 )

ที่มา http://www.environnet.in.th/

ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้วิเคราะห์ และคาดว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (พ.ศ. ๒๕๗๓) อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ๑.๕-๓ °ซ. และจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้ 

๑. ระดับน้ำทะเลอาจจะขึ้นสูงอีก ๔๐-๑๒๐ เซนติเมตร 




ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่ชายทะเล และกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณนั้น เช่น การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในป่าชายเลน การท่องเที่ยว เป็นต้น 

ในระหว่างที่โลกมีวิวัฒนาการ น้ำทะเลเคยขึ้นลงเกินกว่า ๑๐๐ เมตรมาแล้ว และในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ เป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ ๘-๒๐ เซนติเมตร เชื่อกันว่า เป็นผลจากที่มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศถึงอัตราร้อยละ ๒๐ และการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ก็เพราะน้ำทะเลขยายตัว เมื่อได้รับความร้อน และน้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายเป็นน้ำ การที่น้ำเค็มรุกล้ำเข้าสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำจืดต่างๆ มากขึ้น ย่อมมีผลทำให้ระบบนิเวศปรวนแปร และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้หลายประการ 

๒. ทำให้ภูมิอากาศเกิดความปรวนแปร 






จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า พายุไซโคลนซึ่งเคยเกิดขึ้น ๓.๑ ครั้ง ในคาบ ๑๐ ปี คือ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓) และได้เพิ่มเป็น ๑๕ ครั้งใน ค.ศ. ๑๙๘๐ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ดังนั้นจึงเกรงว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น จะทำให้ลมมรสุม ในคาบสมุทรเอเชียแปซิฟิกเพิ่มกำลังแรงมากขึ้น และจะพัดเลยขึ้นเหนือไป ทำให้ฝนไปตกในท้องถิ่นกันดาร และในทางตรงกันข้าม จะทำให้เกิดความแห้งแล้งในที่ที่ มีฝนตกชุก ตลอดจนจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นในบางแห่ง บางแห่งจะเกิดปัญหาน้ำเซาะดินพังทลายลง และตะกอนซึ่งมากับน้ำขุ่นตามทางน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินด้วย 

๓. แหล่งน้ำใช้ในการชลประทานจะผันแปรไปด้วย 

จากการคาดคะเนหากว่า อุณหภูมิของโลกเพิ่ม ๑.๕-๔.๕ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗-๑๕ ทั่วโลก แต่มิได้กระจายไปทุกแห่งอย่างทั่วถึง ในแหล่งที่มีน้ำมาก และที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นนั้น พืชก็อาจจะเร่งการสังเคราะห์แสงขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และจำเป็นต้องมีการจัดสรรน้ำ เพื่อการชลประทานเป็นพิเศษกว่าเดิมด้วย 

๔. ต้องพัฒนาและปรับปรุงการเกษตรกรรม
 

ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งอาจจะต้องแสวงหาพืชพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนการเพาะปลูก และการจำหน่ายที่มีคุณภาพ มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในสภาวะปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

๕. แหล่งพลังงานได้รับผลกระทบ
 



เนื่องจากการปรวนแปรของภูมิอากาศ เช่น การเกิดลมมรสุมต่างๆ อย่างรุนแรง เคยทำให้เรือขุดเจาะน้ำมันคว่ำ เกิดการเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนขัดขวางการแสวงหาแหล่งพลังงาน ใหม่ๆ การผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังน้ำ พลังลม และพลังนิวเคลียร์ ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบ จากความแปรปรวนทางภูมิอากาศด้วยเช่นกัน

ที่มา http://kanchanapisek.or.th/

การทำStop Motion



การทำStop Motion

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. กล้องถ่ายรูป
2. ขาตั้งกล้อง เวลาถ่ายเฟรมควรจะนิ่ง ภาพจะได้เล่นต่อเนื่อง และเหมือนสิ่งของขยับได้จริง
3. แบบสำหรับถ่าย หรือหุ่น ตุ๊กตา
4. ต้องมีโปรแกรมตัดต่อ VDO (สงัดใช้โปรแกรม Corel Video Studio Pro X5)
5. เพลงที่จะใช้ประกอบ VDO หรือไม่มีเพลงประกอบก็ได้ (อาจต้องใช้ภาพมากกว่า 2,000 กว่าภาพ เพื่อเล่น VDO ให้จบภายใน 1 เพลง)

หมายเหตุ เรื่องลิขสิทธิ์เพลงประกอบ Stop motion VDO
1. Youtube อนุญาตให้ใส่เพลงลิขสิทธิ์ ประกอบการเล่น VDO ได้ แต่จะมีเมลล์ส่งมาเตือนเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่ง VDO ที่มีเพลงลิขสิทธิ์ยังคงสามารถเปิดเล่นได้ใน Youtube แต่จะมีข้อความกำกับที่ VDO ของเราว่า "เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3" และหากมีการร้องเรียน หรือถูกโจมตีโดยเจ้าของลิขสิทธิ์ VDO ของเราจะถูกลบ และจะถูกคาดโทษที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเวลา 6 เดือน หากไม่มีการทำผิดซ้ำ หรือไม่ถูกร้องเรียน หรือถูกโจมตีซ้ำ ภายในเวลา 6 เดือน ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์จะหมดวาระ แต่ถ้าหากมีการทำผิดซ้ำถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว บัญชี Youtube จะถูกปิดทันที

2. Facebook อนุญาตให้แชร์ลิ้งค์ VDO ที่มีเพลงลิขสิทธิ์ประกอบการเล่นได้ แต่ไม่อนุญาตให้ Upload VDO ตั้นฉบับที่มีเพลงลิขสิทธิ์ประกอบขึ้น Facebook หากเราต้องการ Upload VDO ต้นฉบับขึ้น Facebook และทันทีที่ Upload เสร็จ ทาง Facebook จะทำการตรวจสอบลิขสิทธิ์ทันที และหากพบว่าเราละเมิดลิขสิทธิ์ ทาง Facebook จะทำการลบ VDO นั้นทันที และจะส่งเมลล์มาเตือนเรื่องการละมิดลิขสิทธิ์ แต่จะยังไม่มีการคาดโทษใดๆ แต่หากมีการทำผิดซ้ำหลายครั้ง Facebook จะปิดบัญชีเราเช่นกัน

เพลงลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงต่างประเทศ เราสามารถหลบเลี่ยงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ โดยเราสามารถใช้เพลงไทย ประกอบ VDO ได้ค่ะ อาจมีการเตือนเรื่องลิขสิทธิ์บ้าง แต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์น้อยกว่าเพลงต่างประเทศค่ะ

ขั้นตอน
1. ถ่ายภาพทีละภาพ ทีละเฟรม โดยการขยับ หรือเคลื่อนที่ทีละนิด และภาพเหล่านั้นต้องเรียงเลข และลำดับต่อเนื่องกัน
2. นำภาพที่ได้ทั้งหมดมาตัดต่อลงในโปรแกรมตัดต่อภาพ และ VDO


วิธีทำ


  • เปิดโปรแกรม Corel Video Studio Pro X5
 
1. Open Corel Video Studio Pro X5 Program and push Edit


 
2. Push the file button from your computer and 
upload the photos for make stop motion
 

 

3. Uploading the photos
 

 

4. Uploading to completed
 

 

5. Drag the photos this here VDO section
 

 

6. Click at the time for set the speed time player
 (I set speed time player at 0:08 second minute)
 

7. Set the few minute time if you want fast speed player



Set the few minute time if you want fast speed player



8. Edit Text at T button and drag to the text section



 
9. Click on th text and Edit on the display VDO
 

10. Push on the file button and select the music 
from your computer supplementary with your 
stop motion (careful copyright music)


 
11. Drag the music to the music section (careful copyright music)
 

12. Drag the music left - right for balance with the photos



13. Click at 00:00 time or other times for play
 and check the VDO again


 
14. Upload and share your VDO to the web
 
 

15. In this I select Youtube - Mpeg-4 HD
 

16. Put the VDO name for save on your 
computer (Original VDO)


 
17. Uploading original VDO for your computer
 
 

18. And now! log in Youtube and next
 

19. Click right at I Agree.... and Next



20. Put the VDO name for Youtube and 
other...and click Upload



21. Uploading VDO for Youtube



22. Uploading  completed and click Done button

 
23. Log in Youtube
 


24. Watch the VDO just upload








ที่มา http://tidtee1974.blogspot.com/